Background



วิสัยทัศน์และนโยบาย
ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลรือเสาะออก
2 มกราคม 2566

0


ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารเกี่ยวกับ ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลรือเสาะออก ได้ที่นี่

เอกสารแนบ
วิสัยทัศน์และนโยบาย
3 ตุลาคม 2565

0


 

๒ ยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลรือเสาะออก

๒.๑ วิสัยทัศน์

“ชุมชนน่าอยู่มีความเข้มแข็ง สิ่งแวดล้อมดี การศึกษาดี การบริการจัดการที่ดี”

  ๒.๒ ยุทธศาสตร์

          ๑. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

          ๒. ด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต

          ๓. ด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย

          ๔. ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุนพาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว

          ๕. ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          ๖. ด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

          ๗. ด้านการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล

 ๒.๓ เป้าประสงค์

               องค์การบริหารส่วนตำบลรือเสาะออก มุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้า ซึ่งจะส่งผลทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น จึงได้กำหนดเป้าประสงค์เพื่อให้สามารถดำเนินการจัดกิจกรรมต่าง ๆ  บรรลุตามพันธกิจและวิสัยทัศน์ที่กำหนด ดังนี้

               ๑ ได้รับการบริการด้านโครงสร้างพื้นฐานให้มีความสะดวกและเสมอภาค

               ๒ มลภาวะและสิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษ ให้บ้านเรือนและชุมชนน่าอยู่อย่างสงบสุข

               ๓ ประชาชนมีศักยภาพ มีความรู้ มีรายได้เพียงพอ สามารถพึ่งตนเองได้

               ๔ การบริหารจัดการภาครัฐที่ดี แบบบูรณาการและมีส่วนร่วม

 

  ๒.๔ ตัวชีวัด  

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

ตัวชี้วัด

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

๑ ร้อยละของระยะทางของถนนที่ได้มาตรฐาน

๒ ร้อยละของครัวเรือนมีน้ำสำหรับ อุปโภค – บริโภค

๓ ร้อยละของการให้บริการเรื่องสิ่งปลูกสร้าง

๔ ร้อยละของความพอใจประชาชนในระบบจราจร

๕ ร้อยละของการมีไฟฟ้าใช้อย่างทั่วถึง

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

ด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต

๑ ร้อยละของการส่งเสริมอาชีพแบบยั่งยืนให้กับประชาชน

๒ ร้อยละของการได้รับการส่งเคราะห์และสวัสดิการแก่ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม

๓ ร้อยละของประชาขนที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาทั้งในและนอกระบบ

๔ ร้อยละของการลดจำนวนผู้ที่เสพยาติด

๕ ร้อยละของจำนวนสถานที่ออกกำลังกาย

๖ ร้อยละของประชาชนที่ได้รับการฝึกอบรมในการป้องกันรักษาควบคุมโรคด้านการสาธารณสุข

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

ด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย

๑ ร้อยละของการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย

๒ ร้อยละของจำนวนผู้เข้าฝึกทบทวน อปพร.

๓ ร้อยละของจำนวนคนที่เข้าร่วมในการรักษาความสงบเรียบร้อยในท้องถิ่น

๔ ร้อยละของผู้นำศาสนาเข้ามามีบทบาทและศักยภาพในการแก้ปัญหาความมั่งคง

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

ด้านการวางแผน การส่งเสริมการ ลงทุนพาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว

๑ ร้อยละของจำนวนตลาดการค้าการลงทุน

๒ ร้อยละของผลิตภัณฑ์ OTOP ที่เกิดขึ้น

๓ ร้อยละของประชาชนที่ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

๔ ร้อยละของการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

๕ ร้อยละของการทำโครงการตามแนวพระราชดำริ

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๑ ร้อยละของโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชิตและสิ่งแวดล้อม

๒ ร้อยละของผู้เข้าร่วมอบรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชิตและสิ่งแวดล้อม

๓ ร้อยละของจำนวนสถานที่ที่ได้รับปรับภูมิทัศน์ในชุมชนและเมือง

๔ ร้อยละของการมีสถานทีกำจัดขยะมูลฝอย

๕ ร้อยละของโครงการที่สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

ตัวชี้วัด

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

ด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

 

 

๑ ร้อยละของโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูสืบทอดจารีตประเพณีศิลปะวัฒนธรรม

๒ ร้อยละของการส่งเสริมและสนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่นและปูชนียบุคลคน

๓ ร้อยละของการเสริมสร้างทำนุบำรุงศาสนา

๔ ร้อยละของการส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์โบราณวัตถุและโบราณสถานในท้องถิ่น

๕ ร้อยละชองโครงการพัฒนาคุณธรรม  จริยธรรมของเด็ดเยาชนแประชาชน

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

ด้านการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล

๑ ร้อยละของจำนวนบุคลากรที่มีความรู้ คุณธรรม

๒ ร้อยละของการปรับปรุงจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ตลอดจนสถานที่การปฏิบัติงาน

๓ ร้อยละของความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงาน ตามหลักธรรมาภิบาล

ร้อยละของการส่งเสริมระบบการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่การดำเนินงานของ อบต.

 

.๕ ค่าเป้าหมาย

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

เป้าหมาย

ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

๑ ได้รับการบริการด้านโครงสร้างพื้นฐานให้มีความสะดวกและเสมอภาค

ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต

๑ เศรษฐกิจชุมชนมีความเข้มแข็งศักยภาพในการพัฒนาอาชีพประชาชนมีรายได้เพิ่ม

๒ มลภาวะและสิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษ ให้บ้านเรือนและ

ชุมชนน่าอยู่อย่างสงบสุข

ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย

๑ มลภาวะและสิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษ ให้บ้านเรือนและ

ชุมชนน่าอยู่อย่างสงบสุข

ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการวางแผน การส่งเสริมการ ลงทุนพาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว

๑ ประชาชนมีศักยภาพมีความรู้มีรายได้เพียงพอสามารถพึ่งตนเองได้

ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๑ ประชาชนมีศักยภาพมีความรู้มีรายได้เพียงพอสามารถพึ่งตนเองได้

ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

๑ การบริหารจัดการภาครัฐที่ดี แบบบูรณาการและมีส่วนร่วม

ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการที่ดี

๑ การบริหารจัดการภาครัฐที่ดี แบบบูรณาการและมีส่วนร่วม

 


 

.๖ กลยุทธ์

               เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ขององค์การบริหารส่วนตำบลรือเสาะออก จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญกับการวางบทบาทการพัฒนาตำบลรือเสาะออกในอนาคตอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับปัญหาความต้องการของประชาชน รวมทั้งสอดคล้องกับศักยภาพและบทบาทหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลรือเสาะออกเพื่อที่จะให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด ดังนั้นจึงได้กำหนดกลยุทธ์ ดังนี้

๑ ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน                     

                   ๑ ก่อสร้าง บุกเบิก ปรับปรุง บำรุงรักษาทาง คมนาคม สะพาน  เขื่อน ระบบระบายน้ำ

                   ๒ ก่อสร้างปรับปรุงแหล่งน้ำอุปโภค  บริโภค

                   ๓ จัดทำผังเมืองรวมจังหวัด ผังเมืองและผังตำบล

                   ๔ พัฒนาและปรับปรุงระบบจราจร

                   ๕ จัดให้มีไฟฟ้าใช้และระบบโทรคมนาคมอย่างทั่วถึง

๒ ยุทธศาสตร์ด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต

                   ๑ ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างงานสร้างอาชีพแบบยั่งยืนให้กัประชาชนในท้องถิ่น

                   ๒ ส่งเสริมงานด้านสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการชุมชนแก่ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม

                   ๓ ส่งเสริมการศึกษาทั้งในและนอกระบบและตามอัธยาศัย โดยสนับสนุน  ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

                   ๔ ส่งเสริมศักยภาพศูนย์ปฏิบัติการการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด

                   ๕ ส่งเสริมด้านการออกกำลังกาย การกีฬา และนันทนาการ

                   ๖ ส่งเสริมการป้องกัน รักษา ควบคุมโรค ตลอดจนการพัฒนาด้านการ สาธารณสุข

๓ ยุทธศาสตร์ด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย

                   ๑ ส่งเสริมให้ความรู้ ความเข้าใจ แก่ประชาชน เกี่ยวกับการเมืองการ ปกครองระบบประชาธิปไตย

                   ๒ พัฒนาศักยภาพของท้องถิ่นในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตลอดถึงการรักษาความสงบเรียบร้อยในท้องถิ่น

                   ๓ เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้มีส่วนร่วมในการรักษาความสงบ เรียบร้อยในท้องถิ่น

                   ๔ ส่งเสริมให้ผู้นำศาสนาเข้ามามีบทบาทและศักยภาพในการแก้ปัญหาความมั่นคง

๔ ยุทธศาสตร์ด้านการวางแผน การส่งเสริมการ ลงทุนพาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว

                   ๑ ส่งเสริมการตลาด  การค้า  การลงทุนในท้องถิ่น และเมืองชายแดน เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน

                   ๒ ส่งเสริมระบบเศรษฐกิจชุมชนและผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น

                   ๓ ส่งเสริมให้ประชาชนยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

                   ๔ พัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน

                   ๕ ส่งเสริมโครงการตามแนวพระราชดำริ

๕ ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                   ๑ อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                   ๒ ส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนในชุมชนมีจิตสำนึกในการร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                   ๓ ปรับปรุงภูมิทัศน์ในชุมชนและเมือง

                   ๔ จัดทำระบบกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูลตลอดจนระบบบำบัดน้ำเสีย

                   ๕ ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน

๖ ยุทธศาสตร์ด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

                   ๑ ส่งเสริมการอนุรักษ์  ฟื้นฟู สืบทอดจารีตประเพณี ศิลปวัฒนธรรม

                   ๒ ส่งเสริมและสนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่นและปูชนียบุคคล

                   ๓ เสริมสร้างทำนุบำรุงศาสนา

                   ๔ ส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์โบราณวัตถุและโบราณสถานในท้องถิ่น

                    ๕ ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ของเด็ก เยาวชนและประชาชน

๗ ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการที่ดี

                   ๑ พัฒนาความรู้ความสามารถและคุณธรรมจริยธรรมแก้บุคลากรในองค์กร

                   ๒ พัฒนาปรับปรุงจัดหาเครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดถึงสถานที่ในการปฏิบัติงาน

                   ๓ พัฒนาปรับปรุงระบบบริหารจัดการองค์กรตามหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี

                   ๔ ปรับปรุงและสร้างระบบการให้บริการที่ทันสมัย รวดเร็ว และมีสมัย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพตลอดถึงสถานที่ในการองเที่ยวส่วนร่วมในการจัดการศึกษาืองประสิทธิภาพ

                   ๕ ส่งเสริมและสร้างทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานเพื่อการบริการประชาชน

                   ๖ พัฒนาส่งเสริมระบบการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่การดำเนินงานขององค์กร เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

.๗ จุดยืนทางยุทธศาสตร์

               องค์การบริหารส่วนตำบลรือเสาะออก ให้ความสำคัญต่อการดำเนินการแก้ปัญหาความเดือดร้อน และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการปรับปรุง ฟื้นฟูพัฒนาการจัดบริการสาธารณะ หรือโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งถือเป็นภารกิจหลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตลอดจนการพัฒนาด้านการศึกษา อันเป็นรากฐานสำคัญต่อการพัฒนาคน พัฒนาประเทศ ให้มีคุณภาพสูงการพัฒนาที่ยั่งยืน ควบคู่กับการพัฒนาด้านสังคม เศรษฐกิจภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน โดยยึดหลักการมีส่วนร่วม ความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และแผนพัฒนาระดับต่าง ๆ รวมถึงพิจารณา วิเคราะห์สภาพปัญหา ความต้องการของประชาชน และความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการพัฒนา องค์การบริหารส่วนตำบลรือเสาะออก จึงกำหนดจุดยืนทางยุทธศาสตร์การพัฒนาไว้เป็น ๗ ยุทธศาสตร์ ดังนี้

               ๑ ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

               ๒ ยุทธศาสตร์ด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต

               ๓ ยุทธศาสตร์ด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย

               ๔ ยุทธศาสตร์ด้านการวางแผน การส่งเสริมการ ลงทุนพาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว

               ๕ ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

               ๖ ยุทธศาสตร์ด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

               ๗ ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการที่ดี

๒.๘ ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ในภาพรวม

               ในภาพรวมแล้วยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลรือเสาะออกมุ่งพัฒนา ๗ ด้าน ได้แก่ ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ยุทธศาสตร์ด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต ยุทธศาสตร์ด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย ยุทธศาสตร์ด้านการวางแผน การส่งเสริมการ ลงทุนพาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว  ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการที่ดี เชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน (สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดนราธิวาส ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดนราธิวาส

๓. การวิเคราะห์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น

 
   

 

 

เอกสารแนบ